วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ผลงานโครงการหนังสั้น ของนักศึกษา ปวช.3 สาขางานถ่ายภาพ

ผลงานโครงการหนังสั้น รางวัลชนะเลิศระดับแผนก ของนักศึกษา ปวช.3 สาขางานถ่ายภา

มนุษย์มักไขว่คว้าหาความสุขจากสิ่งที่ไกลจากตัวเอง บางคนดิ้นรนต่อสู่เพื่อความสุขตั้งแต่เกิดจนถึงวันสิ้นลม แล้วก็พบในนาทีสุดท้าย ว่าความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องยิ่งใหญ่ บางทีไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียวในการซื้อหา แต่มันอยุ่ที่ว่า ความสุขของคุณ คุณวัดมันด้วยอะไร ร่ำรวย มีรถ มีบ้าน เกียรติยศชื่อเสียง หรือวัดมันด้วยใจที่พอเพียง มาหาคำตอบจากผลงานการสร้างสรรค์ของนักศึกษา ในการเรียนการสอนวิชาโครงการ และได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศระดับแผนก เนื้อเรื่องดีมากและความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอดี โดยใช้เทคนิคการปรับภาพคนให้เป็นกราฟิก ซึ่งเบื้องหลังการถ่ายทำ ยากมากเพราะต้องถ่ายบนพิ้นสีฟ้า (blue screen )เพื่อนำมาซ้อนกับฉากหลังอีก เป็นอีกผลงานที่น่าภาคภูมิใจของแผนกถ่ายภาพ เ ข้าไปชมหนังสั้นเรื่องนี้ได้ที่นี่เลย

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ผลงาน หนังสั้น นักศึกษา ปวช.ปีที่ 3 สาขางานเทคโนโลยีนิเทศศิลป์

ผลงาน หนังสั้น นักศึกษา ปวช.ปีที่ 3 สาขางานเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ปีการศึกษา 2/2549 เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา กราฟิกวิดีทัศน์
หนังสั้นเรื่อง " One day story " เรื่องของเด็กหนุ่มผู้มีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดนตรี และพยายามไล่ตามความฝันของตน เหตุการณ์ทำให้ค้นพบมิตรภาพระหว่างเพื่อนและความรักในที่สุด ข้อวิจารณ์ : เปิดฉากปูเรื่องด้วยภาพที่สวยงาม สอดคล้องกับดนตรีประกอบ มุมกล้องดีมาก การตัดต่อดี แต่เนื้อเรื่องอ่อน ไปเรื่อยๆไม่มีไคลแม็กซ์ ( Climax )แบบที่สุด เหมือนไม่มีการเขียนบทก่อน คิดไปถ่ายไป แต่ภาพที่สวยงาม ก็ทำให้หนังน่าดูขึ้นมาก
ชมวดีอีเรื่องนี้ คลิ้ก ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550

แวะคุยกันนิด

สวัสดีครับ ต้อนรับสู่เทอมที่2 ปี2550

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ผลงานติดดาว ปวช.ปีที่ 3 สาขางานเทคโนโลยีนิเทศศิลป์

ผลงานภาพประกอบหนังสือเด็ก ของนักศึกษา ปวช.ปีที่ 3 สาขางานเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ที่เขียนภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา การออกแบบภาพประกอบเรื่อง ชื่อเรื่อง : ผลงาน โดย นส.อุษากร ข่อไชยกุล ข้อวิจารณ์ : การสร้างตัวการ์ตูนสวยงาม สีนุ่มสบายตา รู้จักการนำเทคนิคและฟิลเตอร์มาใช้ในงาน องค์ประกอบภาพลงตัว ในส่วนของตัวหนังสือ ไม่ควรปูพื้นขาวจางๆ ควรวางตัวหนังสือลงบนหน้างานได้เลย ทำให้เกิดความกลมกลืน ไม่แบ่งแยกงานกับตัวหนังสือ ชื่อเรื่อง : กระดาษน้อยคอยฝัน ผลงาน โดย นส.เพ็ยนภา เพชรเกตุ และ นส.สุวิมล เขียวสอาด ข้อวิจารณ์ : การสร้างตัวการ์ตูนสวยงาม แต่ยังติดกลิ่นอายของการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่บ้าง ควรหัดออกแบบตัวการ์ตูนให้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง องค์ประกอบภาพลงตัว สีควรเน้นสีสดใสบ้างในบางจุด ลดของประกอบฉากลงบ้าง จะดูไม่แน่นมากเกินไป
ชื่อเรื่อง :
ผลงาน นสวิภา มณีชัยสิริโชค และนายวีระพงษ์ ประถมรัตน์ ข้อวิจารณ์ : การสร้างตัวการ์ตูนสวยงามดี แต่ยังแข็งไปนิด เนื่องจากเรื่องเกี่ยวกับลูกโป่งและมีฉากหลังเป็นท้องฟ้า ควรออกแบบสีสันลวดลายของลูกโป่ง สลับตำแหน่ง สูงต่ำ หรือหาของประกอบใส่ลงบนฉากหลัง เช่น นกตัวเล็กสีสดใส เป็นต้น เพื่อเพิ่มให้เกิดความน่าสนใจ ไม่เช่นนั้น ความซ้ำๆกัน จำทำให้เกิดความจำเจ
ชื่อเรื่อง : จ้อยตามหาพระจันทร์
ผลงาน นส.สุเภทรา ลิกมณี และ นส.พุทธิดา สุขพิสิทธิ์
ข้อวิจารณ์ : การสร้างตัวการ์ตูนน่ารัก รียบง่าย องค์ประกอบว่างไปนิด ควรหาของประกอบ เป็น สัตว์เล็กๆ เช่น หิ่งห้อย นก ต้นไม้ ฯมาจัดวางบนพื้นที่ว่างบ้าง สีสันดูมืดทึมไป ควรเน้นให้สดใสมากกว่านี้